วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผ้าพื้นเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ

 ผ้าพื้นเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ




         สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ได้สืบค้นข้อมูลผ้าเมืองอำนาจเจริญ พบว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยจังหวัดอำนาจเจริญ แยกการปกครองจากจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ดังนั้น ตำนานผ้าเมืองอำนาจเจริญ จึงขอกล่าวอ้างตามตำนานผ้าเมืองอุบล ตามลำดับดังนี้ (อ้างจาก หนังสือ “อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี”)


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า การแต่งกายของ ชาวอำนาจเจริญ เป็นแบบพื้นเมืองนุ่งซิ่น ต่อมา ได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพฯ แต่ผู้นำสตรีชั้นสูง ชาวอุบลในสมัยนั้น อาทิ หม่อมเจียงคำ พระชายาในพระบรมเจ้าวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นชาวอุบล ยังคงรักษาเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวอุบล ผ้าที่ทอในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ สมัยนั้น ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ที่เป็นเอกลักษณ์ มีอยู่ ๒ รูปแบบ ได้แก่

๑. ผ้าขิด อำเภอชานุมาน เป็นการทอผ้าขิด สีสันและลวดลายของผ้าจะเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไท เซโปน โดยพบหลักฐานผ้าที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี ห้องที่ ๗ เป็นผ้าเบี่ยง ผ้าตุง และผ้าห่ม


๒. ผ้าไหม อำเภอพนา อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของ ผ้าทอเมืองอุบลอย่างชัดเจน มีชื่อและลวดลายต่างๆ เช่น ผ้าซิ่นมับไม ผ้าซิ่นมุก ผ้าซิ่นมัดหมี่ เป็นต้น


ผ้าพื้นเมืองอำนาจเจริญ มีเอกลักษณ์ต่างกัน เช่น


1.อำเภอเมือง
  -ผ้าจุบคราม ตำบลปลาค้าว
  -ผ้ามัดหมี่คึมใหญ่

2.อำเภอหัวตะพาน
   -ผ้าฝ้ายลายขิดคำพระ

3.อำเภอปทุมราชวงศา
   -ผ้ามัดหมี่ยกขิด
   -ผ้ามัดหมี่บ้านตาด
   -ผ้าขิดผู้ไท

4.อำเภอพนา
   -ผ้าไหมลายโบราณ
   -ผ้าขาวม้า ผ้าพาด
   -ผ้าซิ่นจุบคราม

5.อำเภอชานุมาน
   -ผ้าจุบคราม
   -ผ้าขิดผู้ไท

6.อำเภอเสนางคนิคม
   -ผ้าลายลูกแก้ว

7.อำเภอลืออำนาจ
    -ผ้าไหมมัดหมี่บ้านเปือย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น