

จังหวัดอำนาจเจริญ
ต้นตะเคียนหิน![]() |
ชื่อทั่วไป - ตะเคียนหิน
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Hopea ferea Laness.
วงศ์ - Dipterocarpaceae
ชื่ออื่นๆ - ตะเคียนทราย อีแรด เหลาเตา , ตะเคียนหิน , ตะเคียนหนู
ถิ่นกำเนิด - ป่าดิบแล้ง และขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี
ประเภท - ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ - ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นสะเก็ด โคน ต้นมักมีพูพอนต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขน ประปราย - ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 2.5 - 3 เซนติเมตร ยาว 8 - 8.5 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งหู โคนมน - ดอก เล็ก สีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและ ปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม - ผล โต ประมาณ 1.4 เซนติเมตร มีกยาว 3 ปีก ผลแก่ ตุลาคม – มกราคม
การขยายพันธ์ - ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม - เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้น ปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง เป็นพันธุ์ไม้หลักของป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระ ดับน้ำทะเล 100 – 400 เมตร เป็นไม้เบิกนำ
ประโยชน์ - ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน ต่อเรือขุด ทนทานและแข็งแรงมากในกลางแจ้ง - ดอก ใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด - ต้มน้ำจากเปลือก ใช้ล้างแผล ผสมกับเกลืออมป้องกันฟันผุ - เนื้อไม้ ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรค เลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น